bulletWeintek HMI




Light Curtain

 

เพิ่มความปลอดภัยด้วยวิธีเลือกใช้ Safety Light Curtain


1.ระดับความร้ายแรง (category,type)

ระดับความร้ายแรงเป็นปัจจัยอันดับแรกในการเลือกใช้ สำหรับม่านแสงเซฟตี้ที่ใช้คือ ระดับ 2 และ ระดับ4 สรุปการแบ่งให้เข้าใจง่ายๆตามตาราง

การเลือกระดับความร้ายแรง ตามมาตราฐาน ISO 13849-1/EN 954-1

รูปที่ 1 การเลือกระดับความร้ายแรง ตามมาตราฐาน ISO 13849-1/EN 954-1

S = ความรุนแรงของการบาดเจ็บ

           S1: บาดเจ็บเล็กน้อย

           S2: บาดเจ็บสาหัสถึงเสียชีวิต


F = ความถี่ที่จะเกิดเหตุอันตราย

           F1: ไม่ค่อยเกิดขึ้น

           F2: เกิดขึ้นบ่อยครั้ง


P = ความเป็นไปได้ที่จะหลีกเลี่ยงอันตราย

           P1: หลีกเลี่ยงได้ ถ้ามีอุปกรณ์พิเศษ เช่น สายพาน หรือ หุ่นยนต์

           P2: หลีกเลียงได้ยากต้องใช้คนหยิบหรือจับ

สรุป คือ ถ้าเกิดอันตรายทำให้ได้รับบาดเจ็บแต่ไม่ถึงขั้นพิการให้ใช้type2 แต่ถ้าหากเกิดเหตุอันตรายขึ้นทำให้พิการหรือเสียชีวิต และมีการใช้งานเป็นประจำให้ใช้ type4 โดย type 4 จะมีวงจรการป้องกันถึง 2 ชั้น เพื่อให้ระบบความปลอดภัยมีเสถียรภาพสูงสุด

 

2.ความละเอียด (resolution) หรือ ระยะห่างระหว่างลำแสง แบ่งได้ 3 ระดับ

           
2.1 ป้องกันนิ้ว ( 14 mm , D ระยะตามรูปที่ 2 ) เป็นแบบที่ละเอียดที่สุด และติดตั้งใกล้เครื่องจักรมากที่สุด ในพื้นที่จำกัดและเครื่องจักรที่อันตรายมากๆ เรามีความจำเป็นต้องเลือกม่านแสงเซฟตี้ที่ละเอียดที่สุดและเป็น type4 

2.2 ป้องกันมือหรือแขน ( 20-30mm , C ระยะตามรูปที่ 2 ) ส่วนมากใช้กับงานป้องกันทั่วๆไป โดยต้องติดให้ห่างจากบริเวณที่มีอันตรายมากกว่าความยาวของมือหรือประมาณ 30 cm

2.3 ป้องกันร่างกาย ( 50mmขึ้นไป, A B ระยะตามรูปที่ 2 ) ในแบบนี้จะใช้ป้องกันคนไม่ให้เดินเข้าไปในบริเวณที่เป็นอันตราย โดยจะมีระยะยิงไกลมากกว่า 30m ขึ้นไป

ความละเอียด (resolution) หรือ ระยะห่างระหว่างลำแสง
รูปที่ 2
 ความละเอียด (resolution) หรือ ระยะห่างระหว่างลำแสงที่ แบ่งได้ 3 ระดับ

 

3.ลักษณะรูปร่าง,ความแข็งแรง และ การติดตั้ง แบ่งตามรูปแบบการติดตั้งได้ 3 แบบ

3.1 แบบ 1 แกน เป็นแบบที่นิยมใช้ทั่วไปจะเป็นลักษณะแกนเดี่ยวสูงตั้งแต่ 150 mm - 2m โดยความสูงของม่านแสงจะต้องครอบคุมพื้นที่อันตราย อาจจะติดแนวนอนก็ได้ถ้ามีพื้นที่มาก แต่ต้องติดสูงกว่าพื้นประมาณ 1 เมตร เพื่อตรวจจับลำตัวคนได้อย่างแน่นอน


การติดตั้ง Safety Light Curtain แบบ 1 แกน ในลักษณะแนวตั้ง

รูปที่ 3 การติดตั้ง Safety Light Curtain แบบ 1 แกน ในลักษณะแนวตั้ง

การติดตั้ง Safety Light Curtain แบบ 1 แกน ในลักษณะแนวนอน
รูปที่ 4
 การติดตั้ง Safety Light Curtain แบบ 1 แกน ในลักษณะแนวนอน



3.2 แบบ cascade
  คือ การเอาม่านแสงมาต่ออนุกรมเพื่อให้สามารถป้องกันได้หลายแกน

 การติดตั้ง Safety Light Curtain แบบ หลายแกน

รูปที่ 5 การติดตั้ง Safety Light Curtain แบบ หลายแกน

 

3.3 แบบใช้แผ่นสะท้อน เหมาะสำหรับงานที่ต้องการกั้นพื้นที่ให้เป็นที่ปลอดภัยเป็นบริเวณกว้าง และให้ต่อวงจรแบบLatch โดยให้ปุ่มresetระบบอยู่ข้างนอกโซนเพื่อเป็นการป้องกันคนยังอยู่ในพื้นที่อันตราย

 การติดตั้ง Safety Light Curtain แบบ ใช้แผ่นสะท้อน
รูปที่ 6
 การติดตั้ง Safety Light Curtain แบบ ใช้แผ่นสะท้อน

 

4.แบบการทำงาน (auto or manual) แบ่งได้ 2 แบบ     
   

4.1 auto หรือ trip การทำงานคือเมื่อตรวจจับเจอมือเครื่องจักรจะหยุดทำงานและเมื่อเอามือออกมาเครื่องจักรจะทำงานต่อได้เลย การทำงานแบบนี้เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความต่อเนื่อง และรวดเร็ว ซึ่งอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจะไม่ร้ายแรงนัก  
         

4.2 manual หรือ latch การทำงานคือเมื่อตรวจจับเจอมือเครื่องจักรจะหยุดทำงานและเมื่อเอามือออกมาเครื่องจักรจะหยุดทำงานค้างอยู่อย่างนั้น จนกว่าเราจะกดปุ่มreset เครื่องถึงจะทำงานต่อ การทำงานแบบนี้เหมาะสำหรับงานที่มีความอันตรายมากๆ เช่นเครื่องปั๊มขึ้นรูปชิ้นงานใหญ่

การทำงานของ Safety Light Curtain แบบ Trip และ Latch

รูปที่ 7 การทำงานของ Safety Light Curtain แบบ Trip และ Latch

 

ในปัจจุบันนี้ยังมีการใช้ Safety Light Curtain ในรูปแบบต่างๆอีกมาก ซึ่งแต่ละแบบที่ใช้อาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะหน้างานและความต้องการของผู้ใช้งานที่มีความหลากหลาย โดย Safety Light Curtain เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาสูงแต่มีความจำเป็นที่ต้องใช้เพราะฉะนั้นหากเราต้องการความปลอดภัยสูงสุดในราคาที่เหมาะสมควรศึกษาให้ละเอียดหรือสอบถามจากผู้มีประสบการณ์และความชำนาญในการใช้งาน 

 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




Panasonic Sensor

CX-481 Sensor Transparent Check ของใส หรือวัตถุโปร่งใส
Micro Laser Distance Sensor
Sensor เช็คสี LX-101 Panasonic
ตรวจจับวัตถุด้านหน้ารถ AGV
Micro Photoelectric Sensor