Servo A6 ดีกว่ารุ่น เก่ายังไง


 

 

 

 

 

เราจะอธิบายถึงข้อดี  ที่ถือว่าโดนเด่น ซึ่งไม่ได้ถูกพัฒนา ขึ้นมาจากรุ่นก่อนหน้านี้ แต่เป็นการ สร้างความก้าวหน้าไปอีกขั้น ให้กับ Panasonic Minas A6 Series

ซึ่งในรุ่นก่อนหน้านี้  เราจะพบว่า  Servo สามารถ Control  ได้ 3 ลักษณะ ใหญ่คือ

1. Speed Control  ในโหมดนี้ เราจะควบคุม ความเร็วในการหมุนของ Servo ได้อย่างง่ายดาย  เพียง จ่าย Pulse หรือจ่าย Voltage  หรือแม้แต่จะใช้  Internal Speed (วิธีเดียวกันกับ พัดลมทั่วไป)  ซึ่งก็จะพบมากกับงานที่ Serios  เรื่อง Speed  เพราะถ้าไม่ Serios  ก็คงใช้ งานพวก Invertor กับ Industion Motor ไปแล้ว จริงมั้ยครับ ???

2. Torque  Control  ในโหมดนี้ จะคล้าย กับ Speed Control  แต่ที่แตกต่างกันก็คือการควบคุม  เป้าหมายของการควบคุมแบบนี้ คือ Torque  ถ้าจะพูดให้เห็นภาพชัดเจน ก็คือ การ Contorl แรงตึง  เช่น เชือก ผ้า กระดาษ หรือแม้แต่เหล็กแผ่น  หรือ Contorl แรงดัน  เช่น เครื่อง Press  กดทับขึ้นรูป   โหมดนี้จะเช็ค Torque ในตัว มอเตอร์ ไม่เกิน หรือไม่ให้เกินกว่าที่   หรือ ตำกว่า ที่กำหนดไว้

3. Posiotion Control ควบคุมตำแหน่ง   โดยส่วนใหญ่ ผุ้ใช้งาน Servo Motor  จะเลือกใช้งาน Mode นี้  ถึงได้เลือก Servo Motor มาใช้งาน และในอดีต จาก Control ตำแหน่ง ก็จะเลือกใช้ PLC คู่กับ Servo Motor เพื่อให้ PLC จ่าย Pulse เพื่อควบคุมตำแหน่ง หรือ จะเป็น Controller แบบอื่นๆ  ก็จะ Pulse  เหมือนกัน จนบางครั้งเราเรียก Pluse Contorl กันเลยทีเดียว

         แต่ในวันนี้ Panasonics  ฉีกกฏเกณฑ์ เดิมๆนั้นทิ้งไป   โดยใช้ หลักการ เดียวกับ  Speed Control   ที่ใช้สวิทซ์ เลือกความเร็วในการหมุน  ที่กล่าวข้างต้น  แต่ เพิ่มลูกเล่น เข้า   โดย Servo จะสามารถ ลองรับคำฟังได้ถึง 250 Step โดยประมาณ  นอกจากนี้ยังรอบรับการเข้า Home ในตัว เพียง   เพียงท่านใช้ สั่งงาน 4 ขาเท่านั้น  โดยมีขั้นตอน คราว ดังนี้

 

1.   กำหนด ขา I/O ในหน้า Pin Assign  เพื่อที่เราจะได้ เลือกใช้งานได้ ถูกต้อง   ซึ่งมีขาที่จำเป็นต้องใช้หลัก 5 ขาด้วยกัน ดังนี้

            1.1  Servo ON     ขานี้ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนใดๆ  เนื่องจาก ถ้า ไม่ ON ก็ไม่สามารถใช้งาน Servo ได้ในทุก Mode

            1.2  STB       ขานี้จะใช้ในการ สั่ง Start  Program  ตาม Step ที่เราเลือกไว้  โดยใช้ B-Select 1 , B-Select 2 , B-Select 3

            1.3  B-Select สามารถอธิบายง่าย ได้ดังนี้

Step B-Select3 B-Select2 B-Select1
0 (Home) 0 0 0
1 0 0 1
2 0 1 0
3 0 1 1
4 1 0 0
5 1 0 1
6 1 1 0
7 1 1 1

 หน้าจอกำหนด ขา I/O  Pin ของ Servo Motor


เมื่อกำหนดขาต่างๆ เรียบร้อย ก็จำเป็นจะต้อง กำหนดว่า ใน STEP  1-7  จะให้ Servo ทำงานอย่างไร ก็จะมีหน้าจอการกำหนดดังนี้


ในแต่ละ Step ก็จะกำหนด ตำแหน่ง (ระยะ) ในการเคลื่อนที่ได้ ตามอัธยาศรัย  รวมทั้ง กำหนด อัตราเร่ง ในขณะออกตัว และอัตราลดในขณะจะหยุด แล้วความเร็วสูงสุดที่ต้องการ ได้ด้วย

ซึ่งในแต่ละ Step  ก็จะสามารถกำหนดได้ด้วยว่า  จะให้ ทำงานใน Step ถัดไปหรือ หยุดแค่ Step นี้    นั้นหมายความว่า ท่านจะสามารถ  Tick   เป็นจุดคำสั่งได้ 

 เช่น ไปตำแหน่ง A  ตำแหน่ง B  แล้วกลับมา A  และเพื่อให้การใช้งาน  Step ทั้ง 250  Step ได้เต็มประสิทธิภาพ  จึงคำสั่ง Jump   เพื่อ เพิ่มความอิสระ และยืดหยุดในการใช้งาน ด้วย   แปลว่า ใน 3 สวิทซ์ ที่ผ่านเลือก ใช้งานได้ 7 รูปแบบท่านจะสามารถ ทำงานใน ได้ถึง  35  Step ต่อ 1 รูปแบบ  เลยทีเดียว


ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจติดตามอ่านข่าวสารของเรา จนมาถึงบรรทัดนี้  ไว้โอกาสหน้าเรามีเนื้อหาดีๆ เราจะมาแนะนำกันอีกนะครับ

ข้อมูลเพิ่มเติม 02-181-2317  website : www.proshopthai.com



ผู้ตั้งกระทู้ Proshop Man กระทู้ตั้งโดยเว็บมาสเตอร์ :: วันที่ลงประกาศ 2019-06-18 11:25:06


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล